บทความ

ต้นไผ่น้ำเต้า

รูปภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa ventricosaMcClure ชื่อวงศ์: GRAMINEAE ชื่อสามัญ: Buddha s Belly bamboo, Phai namtao ลักษณะทั่วไป: ต้น  ลำต้นอยู่เหนือดินตั้งตรงเอง ผิวเรียบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเขียวอมเหลือง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบด้านบนมีลักษณะมันเรียบ ส่วนด้านท้องใบมีลักษณะหยาบ ขอบใบมีความคม ใบแก่สีเขียวเข้มเรียวแหลม การดูแลรักษา: ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำพอสมควร เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด การขยายพันธุ์: การแตกหน่อ หรือ แยกกอ การใช้ประโยชน์: - ไม้ประดับ - ทำเป็นของชำร่วยได้ เช่น ทำแจกัน - บริโภค - สมุนไพร ถิ่นกำเนิด: ประเทศจีน ส่วนที่ใช้บริโภค: หน่อสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้ สรรพคุณทางยา: - ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับฟอกโลหิตระดูที่เสีย - ตาไม้ไผ่ สุมไฟเอาถ่าน ใช้รับประทานแก้ร้อนในกระหายน้ำ - ราก มีรสกร่อยและใช้รวมกับยาขับโลหิต ขับระดู   อ้างอิง   https://sites.google.com/site/sitkhxmulrongreiynfangwithyayn/tn-phi-na-tea

ต้นขี้เหล็ก

รูปภาพ
   ขี้เหล็ก เดิมเป็นไม้ในบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นับจากหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซียไปจนกระทั่งถึงประเทศศรีลังกา ต่อมามีผู้นำเอาไม้ขี้เหล็กไปปลูกในบริเวณต่างๆ สำหรับในประเทศไทยเราจะพบไม้ขี้เหล็กในแทบทุกจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้ ชาวบ้านนิยมปลูกไม้ขี้เหล็กเป็นไม้ให้ร่มและเป็นไม้ประดับ ขึ้นได้ในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี ต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปาน  กลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้า...